วันพุธที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2554

มะเร็งกับมะเขือเทศ


เดี๋ยวนี้โรคมะเร็งกลายเป็นโรคฮิตของคนเราไปแล้ว เดี๋ยวมะเร็งลำไส้ เดียวมะเร็งในเม็ดเลือด เดี๋ยวมะเร็งปากมดลูก มะเร็งต่อมลูกหมาก

โอย ...สารพัดที่ที่จะเป็น แถมยังหาสาเหตุแบบฟันธงเป๊ะ ๆ ไม่ได้เสียด้วย แต่ข้อสงสัยที่มาเป็นดับหนึ่งนั้นอยู่ที่ลักษณะการรับประทานอาหาร ใครที่ทานตามใจปาก ไม่ใส่ใจถึงคุณประโยชน์ที่จะได้รับเท่าที่ควรก็มักจะเป็นกันเยอะ เพราะฉะนั้นถือได้ว่าลักษณะการรับประทานนั้นมีส่วนมากที่จะช่วยลด หรือ เพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งได้นะคะ

ล่าสุดศูนย์วิจัยมะเร็ง จากมหาวิทยาลัยฮาวายได้แสดงข้อมูลให้เห็นว่า เบต้าแคโรทีน และโฟลิกแอซิดสามารถช่วยลดอัตราเสี่ยงในการเป็นมะเร็งปอดได้ เมื่อทานมะเขือเทศ และผักประเภทดอกกะหล่ำเป็นประจำ

หากทานเป็นประจำแล้วผู้หญิงสามารถลดความเสี่ยงได้ถึง 7 เท่า และผู้ชายสามารถลดความเสี่ยงได้ถึง 3 เท่าเลยทีเดียว

มีทริคเล็ก ๆ มาฝากด้วย สำหรับมะเขือเทศนั้นสามารถนำไปปรุงเป็นอาหารได้หลากหลาย เพราะว่าความร้อนและน้ำมันช่วยให้ร่างกายดูดซึมเบต้าแคโรทีนและไลโคปีนได้ดี

แต่ว่าถ้าเป็นพวกที่มีความเข้มข้นของมะเขือเทศสูงอย่าง น้ำมะเขือเทศ หรือ ซอสมะเขือเทศ ร่างกายจะดูดเอาเบต้าแคโรทีนและไลโคปีนได้ดีที่สุดเพราะฉะนั้นก็เลือกทานตามใจชอบได้ค่ะ

ส่วนกะหล่ำปลีเหมาะที่จะนำมาทำอาหารจำพวกนึ่งหรือผัด เพราะว่าจะเป็นวิธีที่จะรักษาคุณค่าอาหารได้ดีที่สุด

แต่วิธีการที่สามารถใช้ได้ผลกับทุก ๆ โรคก็คือ พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายเป็นประจำ และทานอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่ค่ะ เพื่อการดูแลตัวเอง และคนที่คุณรักนั้นอย่าละเลยที่จะทำนะคะ เพราะว่าเดี๋ยวนี้โรคภัยไข้เจ็บเยอะแยะมากมายเหลือเกินค่ะ


อาหารป้ิองกันมะเร็งผิวหนัง


อาหารป้ิองกันมะเร็งผิวหนัง
ศัตรูตัวร้ายของผิวหนังคือแสงแดด แสงแดดทำให้ผิวเหี่ยวย่น ตกกระ ซึ่งเป็นริ้วรอยของความชราที่ไม่มีใครชอบ ยิ่งกว่านี้แสงแดดยังเป็นต้นเหตุของมะเร็งผิวหนังอีกด้วย
       ...ต้องถือว่า สีผิวอย่างคนไทยน่ะโชคดีแล้วที่เกือบจะตัดมะเร็งผิวหนังออกไปได้ อย่าได้คิดเปลี่ยนสีผิวของตัวเอง โดยอาศัยครีมที่โหมโฆษณาว่าสามารถลอกผิวให้ขาวได้ภายในไม่กี่วันเลย คุณจะห้ามไม่ให้ผิวสร้างเมลานิน ห้ามไม่ให้ธรรมชาติปกป้องตัวคุณเองจากมะเร็งทำไมกัน ทำแบบนั้นมันโง่หรือเปล่าล่ะ

     อย่างไรก็ตามหากต้องการเป็นฝ่ายกระทำในการป้องกันมะเร็งผิวหนังสามารถทำได้เองดังนี้       


     1. กินเบต้าแคโรทีน ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระเข้าไปต้านรังสีอัลตราไวโอเลตจากแสงแดดที่เราต้องเผชิญทุกวัน อาหารที่มีเบต้าแคโรทีนสูงคือผักผลไม้สีเขียว เหลือง แดง ส้ม ม่วง เช่น ใบยอ ใบย่านาง ใบชะพลู มะละกอ ฟักทอง แครอท มะม่วงสุก แคนตาลูป กะหล่ำม่วง บีทรูท เป็นต้น
         หากกินเข้าไปมากพอ ผิวหนังของเราจะมีสีออกเหลืองน้อย ๆ ใครก็ตามที่มีผิวเหลืองจากเบต้าแคโรทีนจะมีผิวสวยกว่า มีริ้วรอยน้อยกว่า ตกกระน้อยกว่า และแน่นอนเป็นมะเร็งผิวหนังน้อยกว่า


    2. เลี่ยงแสงแดด อย่าออกไปตากแดดตอนใกล้เที่ยง หากจำเป็นให้ใช้ร่มกันยูวี สวมแว่นตากันยูวี ใส่เสื้อผ้าที่กันรังสียูวี หรือใช้ยาทากันแดดที่สามารถป้องกันยูวีได้

    3. เลี่ยงอาหารและยาที่มีสารหนูปนเปื้อน เพราะสารหนูเป็นสารก่อมะเร็งของมะเร็งผิวหนัง ยาที่มักจะเข้าสารหนูได้แก่ ยาแผนโบราณทั้งตำรับยาไทยและจีน


    4. หากมีอายุเกิน 50 ปีซึ่งจะมีอัตราเสี่ยงต่อมะเร็งโรคผิวหนังมากขึ้น ควรสังเกตผิวของตนเองว่าไฝ กระ และปาน เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไรหรือไม่ หากพบสิ่งผิดปกติไม่ควรรอช้ารีบไปปรึกษาแพทย์


    5. หากมีคนในครอบครัวเป็นมะเร็งผิวหนัง 
ควรรู้ว่ามะเร็งผิวหนังเป็นกรรมพันธุ์ ต้องเร่งดูแลตัวเองด้วยการกินผักสดและผลไม้สดให้มาก จะได้มีสารต้านอนุมูลอิสระมากพอ เพื่อลดอัตราเสี่ยงลง

http://www.kroobannok.com/blog/30276





อาหารเป็นยา


อาหารเป็นยา
อาหารเป็นยา เป็นคำที่ทราบกันดีในหมู่นักบริโภคเพื่อสุขภาพทั้งหลายซึ่งเราขอยกมือสนับสนุนเต็มที่ค่ะ เพราะอาหารที่คุณคุ้นเคยหลายชนิดซึ่งนอกจากจะอร่อยลิ้นแล้ว ยังช่วยป้องกันการเกิดปัญหาทางสุขภาพและช่วยส่งเสริมสุขภาพของคุณด้วยค่ะ อันนี้นักวิจัยเขายืนยันมา และนี่ก็คือ 9 ยอดอาหารธรรมชาติที่ช่วยรักษาสุขภาพของคุณค่ะ

1. บร็อคโคลี่
แชมเปี้ยนผักในตระกูลกะหล่ำที่เป็นที่นิยมของนักบริโภคทั่วโลกบร็อคโคลี่มีประโยชน์ดังนี้ค่ะ

- ช่วยป้องกันมะเร็ง
 - อุดมด้วยวิตามินซี สารแอนตี้ออกซิแดนท์ ที่ช่วยกำจัดอนุมูลอิสระ ในร่างกาย และยังช่วยให้ผนังเส้นเลือดแข็งแรงอีกด้วยค่ะ
 - ประกอบด้วยสาร glutathione ซึ่งช่วยลดโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดไขข้ออักเสบ เบาหวาน และโรคหัวใจ และนอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกัน ของร่างกาย ลดระดับคลอเลสเตอรอล และช่วยลดความดันโลหิตสูงค่ะ
 - ป้องกันการเกิดต้อกระจก เนื่องจากบร็อคโคลี่ จะมีสารเบต้าแคโรทีนสูง โดยเฉพาะสาร lutein ค่ะ

ขนาดรับประทาน : บร็อคโคลี่ 1/2 ถ้วย ต่อสัปดาห์ ก็จะดีต่อสุขภาพของคุณ
2. กระเทียม
ช่วยลดคลอเลสเตอรอล มีฤทธิ์คล้ายกับยาแอสไพรินในการช่วยป้องกันการแข็งตัวและการอุดตันของหลอดเลือด มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อโรคได้เหมือนกับยาเพ็นนิซิลิน โดยเฉพาะเวลาที่เจ็บคอ สามารถใช้กระเทียมรักษาได้ดีค่ะ และยังมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ในการช่วยป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่และมะเร็งเต้านมอีกด้วยค่ะ

ขนาดรับประทาน : การป้องกันโรคหัวใจรับประทานวันละ 1 กลีบ และโดยทั่วไป ก็แนะนำให้รับประทานกระเทียมเป็นประจำทุกวันแล้วแต่ปริมาณที่คุณชอบค่ะ


3.ถั่วแดง
เป็นอาหารที่มีส่วนประกอบของเส้นใยอาหารสูงมากค่ะ ดังนั้นจึงช่วยลดระดับคลอเลสเตอรอล ป้องกันการเกิดภาวะเส้นเลือดในสมองแตก และมะเร็งลำไส้ใหญ่ค่ะ อุดมด้วยกรดโฟลิค ที่ช่วยบำรุงโลหิต ป้องกัน ความผิดปกติของทารกในครรภ์ นอกจากนี้ยังประกอบด้วยสารแอนตี้ออกซิแดนท์ polyphenolics ที่ช่วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจได้ดีอีกด้วยค่ะ

ขนาดรับประทาน : ควรรับประทาน 1 ถ้วย / วัน ค่ะ



4. นมพร่องมันเนย

เป็นแหล่งของแคลเซี่ยมสูงที่ปลอดไขมัน ซึ่งป้องกันภาวะกระดูกพรุนและยังประกอบด้วยสารโปรตัสเซี่ยมและแมกเนเซี่ยม ที่ออกฤทธิ์ช่วยลดความดันโลหิตสูงค่ะ

ขนาดรับประทาน : คนวัยหนุ่มสาวต้องการแคลเซี่ยมวันละ 1000 mg ค่ะ ส่วนวัยสูงอายุจะต้องการเพิ่มขึ้นเป็น 1500 mg /วัน จึงจะเพียงพอค่ะปัจจุบันมีนมพร่องมันเนยแคลเซี่ยมสูงจำหน่ายอยู่ทั่วไป เลือกดื่มได้ตามปริมาณที่แนะนำนะคะ




5. ส้ม
ยอดผลไม้ที่มีปริมาณวิตามิน ซี สูง เส้นใยอาหารสูง รวมทั้งสารอาหารชนิดอื่นๆ ซึ่งช่วยป้องกันหวัด ลดระดับคลอเลสเตอรอล ช่วยในการสร้างกระดูก ป้องกันการเกิดนิ่วในไต ป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่ตลอดจนช่วยฟื้นฟูอาการเจ็บหน้าอกจากโรคหัวใจอีกด้วยค่ะ นอกจากนี้สาร phytochemicals ในส้มยังช่วยต่อต้านมะเร็งเต้านมด้วยค่ะ

ขนาดรับประทาน : ควรรับประทานส้มวันละ 1-2 ผล เป็นประจำทุกวัน




6. ปลาแซลมอน
มีปริมาณน้ำมันปลาที่เรียกว่า Omega-3s ค่อนข้างสูง ซึ่งช่วยป้องกันโรคหัวใจ และช่วยควบคุมอาการไขข้ออักเสบ นอกจากนี้น้ำมันปลายังช่วยลดอาการปวดรอบเดือน กลุ่มอาการก่อนมีรอบเดือนรวมทั้งช่วยระงับอาการซึมเศร้าได้ด้วยค่ะ

ขนาดรับประทาน : รับประทานสัปดาห์ละ 3 ออนซ์





7. เต้าหู้
หนึ่งในอาหารชั้นเลิศที่ควรเลือกรับประทานค่ะ ช่วยลดระดับไขมัน คลอเลสเตอรอล อุดมด้วยสาร Isoflavone สารเอสโตรเจนธรรมชาติจากพืช ป้องกันกระดูกพรุน ป้องกันมะเร็งเต้านม และยังช่วยให้ไตทำงานได้ดีด้วยค่ะ

ขนาดรับประทาน : 30-50 mg ของ Isoflavone / วัน หรือเท่ากับปริมาณ
เต้าหู้ 1/2 ถ้วย/วัน ซึ่งมี Isoflavone 35 mg.




8. ซอสมะเขือเทศ
นอกจากจะสุดอร่อยแล้ว ยังมีประโยชน์มากมายค่ะ เช่น ป้องกันมะเร็ง ลำไส้ใหญ่ มะเร็งหลอดอาหาร และมะเร็งกระเพาะอาหาร สาร lycopene ในมะเขือเทศเป็นสารแอนตี้ออกซิแดนท์ พบมากในเฉพาะมะเขือเทศเท่านั้น ในผักผลไม้ชนิดอื่นจะมีlycopene น้อยค่ะ สาร lycopene มีคุณสมบัติ กำจัดสารอนุมูลอิสระตัวอันตรายให้ออกไปจากร่างกายของคุณ ซึ่งนอกจากจะช่วยป้องกันมะเร็งแล้ว ยังช่วยให้คุณห่างไกลความร่วงโรยอีกด้วยละค่ะ น่าสนมั้ยละคะ...

ขนาดรับประทาน : รับประทานได้ตามใจชอบเป็นประจำทุกวันค่ะ


9. น้ำ

ร่างกายของคนเราประกอบด้วยน้ำเป็นส่วนใหญ่ จึงจำเป็นที่คุณควรจะดื่มน้ำให้เพียงพอ เพราะน้ำคือยาอันมหัศจรรย์ทีเดียวค่ะ หากดื่มน้ำได้เพียงพอ จะช่วยป้องกันอาการอ่อนเพลีย ตะคริว รักษาระดับอุณหภูมิของร่างกาย ป้องกันการเกิดนิ่ว และยังช่วยให้ผิวพรรณเปล่งปลั่งสดใสค่ะ ฉะนั้น ควรจะดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 8 แก้วและถ้าคุณสามารถดื่มได้มากกว่านี้ก็นับว่าเป็นกำไรของคุณค่ะ





http://www.horapa.com/content.php?Category=Healthy&No=886

ถั่วเหลืองกับโรคมะเร็ง


ถั่วเหลืองกับโรคมะเร็ง
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิง พวงทอง ไกรพิบูลย์


 ถั่วเหลือง กับนมถั่วเหลืองเหมือนกันไหม?
 ถั่วเหลือง (soybean, soya  bean) มีชื่อเรียกอื่นๆตามท้องถิ่น เช่น ถั่วแระ  ถั่วพระเหลือง  ถั่วแม่ตาย  มะถั่วเน่า   เฮ็กตั่วเต่า   เป็นพืชล้มลุกในตระกูลถั่ว  มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า  glycine max (l.) merr.   และอยู่ในวงศ์  fabaceae     เป็นพืชให้เมล็ด  ซึ่งนำมาบริโภคในรูปแบบต่างๆ  เช่น  ถั่วแระ เป็นต้น   หรือ นำมาทำเป็นแป้งแล้วปรุงเป็นอาหารชนิดต่าง หรือ นมถั่วเหลือง  น้ำเต้าหู้  เต้าหู้ และเต้าเจี้ยว ดังนั้น ถั่วเหลือง และผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง รวมทั้งน้ำเต้าหู้ จึงมีคุณสมบัติในด้านต่างๆ คล้ายคลึง


 ถั่วเหลืองมีประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างไร? 
 ถั่วเหลือง เป็นอาหารมีประโยชน์มาก   มีโปรตีนสูงเกือบเท่าน้ำนมวัว   นอกจากนั้น ยังมีคาร์โบไฮเดรต   มีไขมันชนิดดีสูง   มีใยอาหารสูง   มีวิตามิน เกลือแร่สูง   จึงใช้เป็นอาหารเสริมได้ดี  และในเด็กแพ้นมวัว และไม่สามารถบริโภคนมแม่ได้  ยังสมารถใช้สูตรอาหารจากถั่วเหลืองทดแทนได้   นอกจากนี้ยังมีสาร ไฟโตเอสโตรเจน (phytoestrogen)  ซึ่งมีคุณสมบัติบางอย่างคล้ายกับฮอร์โมนเพศเอสโตรเจนในผู้หญิง     อย่างไรก็ตาม  นมถั่วเหลือง เป็นอาหารเสริมที่ให้ประโยชน์มากในผู้ป่วยโรคมะเร็งซึ่งบริโภคอาหารได้น้อย  หรือ แพ้นม  หรือ มีอาการคลื่นไส้/อาเจียน หรือ เจ็บเวลากลืน/รับประทาน   เพราะในปัจจุบัน เป็นอาหารที่หาง่าย  เก็บรักษาง่าย ราคาไม่แพง  และผู้ผลิตยังเพิ่มเติมสารอาหารมีประโยชน์ต่างๆลงในนมถั่วเหลืองสำเร็จรูป


ถั่วเหลืองมีโทษไหม? 
มีรายงานว่า ในคนบางคน หรือในเด็กบางคนแพ้ถั่วเหลืองได้ (พบได้น้อยมาก) โดยเกิดผื่นคันภายหลังการบริโภค   ในเด็กชายเมื่อบริโภคถั่วเหลืองในปริมาณสูงเป็นประจำ อาจมีเต้านมโตผิดปรกติ จากสารไฟโตเอสโตรเจน  และในผู้ชายอาจมีผลต่อปริมาณของอสุจิได้    นอกจากนั้น มีบางการศึกษาระบุว่า  การบริโภคถั่วเหลืองในปริมาณสูงเป็นประจำ อาจเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิด สมองฟ่อ (ยังไม่มีการศึกษายืนยันชัดเจน)
                ในถั่วเหลืองที่เก็บไว้นาน  เก็บไม่ดี  เต้าหู้  หรือ เต้าเจี้ยว  อาจมีการปนเปื้อนสารก่อมะเร็งอฟลาทอกซิน (aflatoxin) ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งสำคัญ โดยเฉพาะมะเร็งตับ    ดังนั้นในการบริโภค จึงควรต้องระมัดระวังในเรื่องความสะอาด และการปลอดสารก่อมะเร็ง


 การบริโภคถั่วเหลืองเป็นประจำป้องกันโรคมะเร็งได้ไหม? 
 ในด้านเกี่ยวข้องกับโรคมะเร็ง  การศึกษาทางการแพทย์ในคน ยังไม่สามารถระบุได้แน่นอนว่า การบริโภคถั่วเหลืองเป็นประจำช่วยป้องกัน  และ/หรือรักษาโรคมะเร็งได้    มีบางการศึกษาพบว่า การบริโภคถั่วเหลือง อาจลดโอกาสเกิดโรคมะเร็งต่อมลูกหมากในผู้ชาย และโรคมะเร็งเต้านมในผู้หญิงวัยยังมีประจำเดือน  แต่อาจเพิ่มโอกาสเกิดโรคมะเร็งเต้านม ในหญิงวัยหมดประจำเดือนแล้ว ซึ่งทั้งหมดเป็นผลจากสารไฟโตเอสโตรเจนในถั่วเหลือง  อย่างไรก็ตาม  ยังไม่มีการศึกษายืนยันชัดเจน


 ทำไมผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านมจึงควรระมัดระวังการบริโภคถั่วเหลือง? 
ผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านม เป็นโรคมีความสัมพันธ์กับฮอร์โมน เอสโตรเจน   ฮอร์โมนนี้เป็นตัวกระตุ้นการเจริญเติบโต ลุกลาม ของเซลล์มะเร็ง  และถึงแม้ยังไม่มีการศึกษาทางการแพทย์ในคนยืนยันในเรื่องนี้  แต่โดยทฤษฎี การบริโภคถั่วเหลือง ซึ่งมีสารไฟโตเอสโตรเจน อาจมีผลกระตุ้นเซลล์มะเร็งได้  นอกจากนั้นยังมีการศึกษาในสัตว์ที่เป็นมะเร็งเต้านมพบว่า  การบริโภคถั่วเหลือง มีผลต้านยาฮอร์โมนที่ใช้รักษาโรคมะเร็ง
                ดังนั้นผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านม และผู้ป่วยหญิงวัยหมดประจำเดือน จึงควรระมัดระวังในการบริโภคถั่วเหลือง และผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลืองไม่ให้มากเกินไป  จนกว่าการศึกษาที่กำลังดำเนินอยู่  ยืนยันได้ชัดเจนถึงผลจากการบริโภคถั่วเหลืองและผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลืองในปริมาณสูงเป็นประจำ


 นอกจากโรคมะเร็งเต้านมแล้ว  มีโรคมะเร็งอื่นอีกไหมที่เกี่ยวข้องกับฮอร์โมน?
 นอกจากโรคมะเร็งเต้านมแล้ว โรคมะเร็งที่มีปัจจัยเสี่ยงจากฮอร์โมน เอสโตรเจน คือ โรคมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก แต่การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างโรคมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกและถั่วเหลืองยังมีน้อยมาก แต่ควรระมัดระวังการบริโภคนมถั่วเหลือง/ผลิตภัณฑ์จากนมถั่วเหลืองไว้บ้าง  เช่นเดียวกับในโรคมะเร็งเต้านม น่าจะได้ประโยชน์มากกว่าโทษ
                โรคมะเร็งต่อมลูกหมากเป็น โรคมะเร็งอีกชนิดที่สัมพันธ์กับฮอร์โมน เอสโตรเจน  แต่ในทางกลับกันกับโรคมะเร็งเต้านม และโรคมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก กล่าวคือ ฮอร์โมน เอสโตรเจน ช่วยหยุดยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งต่อมลูกหมากได้   ดังนั้น ในขณะนี้ จึงกำลังมีการศึกษาทางการแพทย์อย่างจริงจัง ถึงประโยชน์ทีผู้ป่วยโรคมะเร็งต่อมลูกหมากจะได้รับจากการบริโภคถั่วเหลือง/ผลิตภัณฑ์ถั่วเหลือง  แต่ในผู้ป่วยโรคมะเร็งต่อมลูกหมากที่ได้รับยารักษาต้านฮอร์โมน ควรระวังการบริโภคถั่วเหลือง/ผลิตภัณฑ์ถั่วเหลือง  เพราะยังไม่มีการศึกษาว่า  สารไฟโตเอสโตรเจนในถั่วเหลือง/ผลิตภัณฑ์ถั่วเหลือง มีผลอย่างไรต่อยาต้านฮอร์โมนในโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก


ผู้ป่วยโรคมะเร็งบริโภคถั่วเหลืองได้ไหม?
การบริโภคถั่วเหลือง และผลิตภัณฑ์ถั่วเหลืองในผู้ป่วยโรคมะเร็งชนิดอื่น ซึ่งไม่ได้มีปัจจัยเสี่ยงจากฮอร์โมน เอสโตรเจน  ไม่มีผลกระทบต่อโรคมะเร็ง  เพราะดังกล่าวแล้วว่า ถั่วเหลืองเป็นอาหารมีประโยชน์มาก  เป็นแต่เพียงให้ระมัดระวังในเรื่องของความสะอาด และการปนเปื้อนสารก่อมะเร็งจากการเก็บรักษาถั่วเหลืองไม่ดี หรือจากการถนอมอาหาร เช่น  จากการทำเต้าเจี้ยว  เป็นต้น     ดังนั้นผู้ป่วยโรคมะเร็ง ที่ควรระมัดระวังการบริโภคถั่วเหลือง กล่าวคือ ไม่ควรบริโภคในปริมาณสูงอย่างต่อเนื่อง  คือ ผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านม และผู้ป่วยโรคมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก เพราะเป็นโรคมะเร็งที่มีปัจจัยเสี่ยงจากฮอร์โมน เอสโตรเจน  และผู้ป่วยซึ่งได้รับการรักษาด้วยยาต้านฮอร์โมนชนิดต่างๆ



คุณประโยชน์จากผักและผลไม้


คุณประัโยชน์จากผักและผลไม้    

เร็วๆนี้สถาบันมะเร็งแห่งสหรัฐอเมริกาได้เริ่มรณรงค์ที่จะให้ประชาชนป้องกันมะเร็งด้วยวิธี โดยแนะนำให้ทานผักอย่างน้อย 5 จานต่อวันและผลไม้อย่างน้อย 3 จานต่อวัน เหตุผลที่ให้ทำอย่างนี้ คือ การทานผัก-ผลไม้ในปริมาณมากสามารถป้องกันและรักษาโรคภัยไข้เจ็บได้ โรคมะเร็งเต้านม,โรคมะเร็งลำไส้,โรคมะเร็งหลอดอาหาร,โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร,โรคมะเร็งปอด,โรคมะเร็งปากมดลูกและโรคภัยไขัเจ็บในปัจจุบันนี้ล้วนแต่พบโดยนักวิจัยว่า สารอาหารในพืชผักสามารถป้องกันได้และยังสามารถใช้รักษาโรคเหล่านี้ได้
            สารอาหารในพืชผักเหล่านี้ได้แก่ สารไฟโตเคมิคอล ซึ่งงานวิจัยต่างๆในยุคปัจจุบันนี้ล้วนมุ่งตรงไปยังสารไฟโตเคมิคอล เพราะเป็นกุญแจสำคัญที่จะป้องกันโรคร้ายทั้งหลาย ทั้งโรคมะเร็ง โรคหัวใจ รวมถึงโรคพื้นๆเช่น โรคหอบหืด โรคข้อ โรคภูมิแพ้
            ในงานวิจัยบางชิ้นซึ่งได้ทำมาเป็นเวลายาวนานแล้ว ได้ทำการศึกษาทางระบาดวิทยา และการเปรียบเทียบภาวะโภชนาการและการเป็นโรคในประชากรของประเทศต่างๆทั่วโลกซึ่งรับประทานผัก-ผลไม้ในปริมาณมาก ในการศึกษานี้ได้วิจัยใน แอฟริกา จีน เมดิเตอร์เรเนียน รัสเซีย และอีกหลายที่ ซึ่งมีชุมชนซึ่งทานผัก-ผลไม้เยอะ ทานคาร์บอไฮเดรตที่มีไฟเบอร์เยอะ โรคหลายโรคที่กระทบคนอเมริกันอย่างมาก ไม่พบในชุมชนเหล่านี้ ยกตัวอย่างเช่น 30 ปีของการศึกษาโดยนักวิจัยชาวอังกฤษที่ทำในแอฟริกาพบว่า ไม่มีDiverticulitis ,pernia โรคมะเร็งลำไส้  มะเร็งต่อมลูกหมาก   สาเหตุที่ทำให้คนเหล่านี้ไม่เป็นโรคมาจากเหตุผลเดียวคืออาหารที่ทาน
 ข้อพิสูจน์ว่าน้ำผัก-ผลไม้สามารถต่อสู้กับโรคมะเร็งได้
            มีคำถามหลายคำถามที่ทำให้นักวิจัยของสถาบันมะเร็งของสหรัฐอเมริกา กระทรวงเกษตร และ อีกหลายๆที่ พยายามจะค้นคว้าหาสารตัวใดตัวหนึ่งที่อยู่ในอาหาร เพื่อที่จะนำมาใช้รักษาโรคมะเร็ง แต่ในภาคปฏิบัติยังวิจัยพบน้อยมาก เพราะแค่มะเขือเทศตัวเดียว ซึ่งมีวิตามินเอ วิตามินซี และแร่ธาตุต่างๆ ยังมีสารตัวอื่นๆอีกไม่ต่ำกว่า10,000 ตัว ทำให้นักวิทยาศาสตร์ยากที่จะแยกแยะและรู้จักมัน
            ยิ่งนักวิทยาศาสตร์ค้นพบสารประกอบไฟโตเคมิคอลมากเท่าไร ยิ่งทำให้ความเข้าใจของเราในเรื่องอาหารเปลี่ยนไป  โดยเฉพาะเรื่องผัก-ผลไม้ อย่างเช่น บรอคโคลี มีสารบางตัวที่รักษามะเร็งเต้านมได้ ผลไม้กลุ่มส้มมีสารบางตัวที่ช่วยร่างกายกำจัดสารก่อมะเร็งออกไปจากตัวได้ จึงลดโอกาสที่ทำให้เป็นมะเร็งลง  องุ่นมีสารไฟโตเคมิคอลที่ปกป้องดีเอนเอจากความเสียหาย  เช่นเดียวกันในพืชผักใบเขียวก็มีสารไฟโตเคมิคอลที่สามารถป้องการสารก่อมะเร็งชนิดต่างๆ ในการศึกษาพืชผักอื่นๆก็พบในทำนองเดียวกันไม่ว่าจะเป็น บรอคโคลี ถั่วฝักยาว กะหล่ำปลี ดอกกะหล่ำ แครอท เคล หัวบีท ...
            ปัญหาที่เกิดขึ้นกับเราคือ เราทานผัก-ผลไม้กันไม่เพียงพอที่จะได้รับประโยชน์ของมัน  ตัวอย่างเช่น สถาบันมะเร็งแห่งชาติ สหรัฐอเมริกาได้แนะนำให้ทานผัก 5 จาน และ ผลไม้ 3 จานทุกวัน  แต่ในความเป็นจริงคนอเมริกันส่วนใหญ่ทานโดยเฉลี่ยได้แค่ ผัก 1 ½ จานต่อวันส่วนผลไม้ก็ไม่ค่อยได้ทาน 
ว่าทำไมการทานน้ำผัก-ผลไม้สดจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ
            ที่จริงแล้วก็ไม่ใช่เรื่องใหม่ ถ้าคุณลองศึกษาการดูแลสุขภาพโดยใช้น้ำผัก-ผลไม้   คุณจะพบว่าศูนย์สุขภาพต่างๆทั่วประเทศ(สหรัฐอเมริกา)ล้วนแต่แนะนำสูตรน้ำผัก-ผลไม้ที่ใกล้เคียงกัน ไม่ว่าจะใช้ แครอท กะหล่ำปลี หรือ พืชผักใบเขียว  เช่นเดียวกับการคั้นน้ำผลไม้กลุ่ม ส้ม องุ่น แอปเปิ้ล ซึ่งได้วิจัยพบว่าสามารถช่วยเราป้องกันมะเร็งได้
              อีกเหตุผลหนึ่งที่ควรจะทานน้ำผัก-ผลไม้ เพราะว่าน้ำผัก-ผลไม้ทำให้เราได้รับสารอาหารที่สำคัญตัวหนึ่งคือ เอนไซม์   เอนไซม์เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของการทำงานของร่างกาย  ทำหน้าที่กระตุ้นปฏิกิริยาเคมีต่างๆของร่างกาย เอนไซม์ยังช่วยเราย่อยอาหาร ดูดซึมอาหาร ส่งต่ออาหารเข้าไปในเซลล์ของร่างกาย และช่วยเราสร้างพลังงานในระดับเซลล์  ที่จริงแล้วเอนไซม์เป็นส่วนประกอบที่สำคัญที่สุดของร่างกายเพราะทุกกิจกรรมของร่างกายเราทุกๆวินาทีล้วนต้องใช้เอนไซม์ น้ำผักผลไม้สดเป็นแหล่งที่สำคัญของเอนไซม์ ความสดของน้ำเป็นตัวสำคัญ เพราะเอนไซม์ถูกทำลายได้ง่ายในความร้อน เมื่อไรก็ตามที่เราทานอาหารที่ปรุงสุกแล้ว และถ้าอาหารนั้นถูกทำให้สุขด้วยความร้อนเกินกว่า 114 องศาเซลเซียส เอนไซม์จะถูกทำลายไปจนหมด แต่ในน้ำผัก-ผลไม้สดเอนไซม์จะยังมีชีวิตอยู่ เครื่องคั้น Healthyjuicer สามารถทำให้คุณได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์ เพราะเครื่องนี้ไม่มีความร้อนเมื่อเปรียบเทียบกับระบบเหวี่ยงโดยทั่วไป ซึ่งอาจจะเกิดความร้อนได้ง่าย เพราะมีความเร็วของรอบสูงและการเสียดสีอากาศที่ค่อนข้างมาก
                        น้ำผัก-ผลไม้เป็นแหล่งที่วิเศษสุดของสารอาหาร ผลไม้กลุ่มส้มทำให้เราได้รับ วิตามินซีจำนวนมาก
แครอททำให้เราได้รับ วิตามินเอเป็นจำนวนมากในรูปของ เบต้าแคโรทีน น้ำคั้นของผักใบเขียวก็เป็นแหล่งของวิตามินอี น้ำผลไม้ยังเป็นแหล่งของแร่ธาตุที่สำคัญ ได้แก่ ธาตุเหล็ก ทองแดง โซเดียม โปตัสเซียม แม็กนีเซียม
ไอโอดีน ซึ่งแร่ธาตุจากพืชเหล่านี้ร่างกายสามารถดูดซึมมาใช้ได้ง่าย
                        ประการสุดท้าย การคั้นน้ำผัก-ผลไม้ เป็นหนทางหนึ่งที่ร่างกายจะได้รับสารอาหาร ในปริมาณมากโดยปราศจากไฟเบอร์ ที่จะขวางกั้นการดูดซึม เช่นถ้าทานแครอทสดอาจได้รับเบต้าแคโรทีน เพียงแค่1% เพราะส่วนใหญ่สารอาหารจะตกค้างอยู่ในไฟเบอร์ แต่ถ้าเรานำแครอทมาคั้นเป็นน้ำเอาไฟเบอร์ออก เกือบ100 %ของเบต้าแคโรทีนที่ ร่างกายจะสามารถดูดซึมไปใช้ได้


สูตรอาหารต้านมะเร็ง

ตัวอย่างสูตรอาหารต้านมะเร็ง 
(เอื้อเฟื้อโดย น.พ.สำราญ อาบสุวรรณ ผู้หายจากมะเร็งปอดระยะสุดท้าย)

น้ำซุปโพแทสเซียม
1.น้ำสะอาด 20 ลิตร
2.หอมใหญ่ 1/2 กก.
3.แครอทขนาดกลาง 1/2 กก.
4.มันฝรั่ง 1/2 กก.
5.มะเขือเทศ 1/2 กก.
6.กะหล่ำปลี 1/2 กก.
7.ผักกวางตุ้ง 1/2 กก.
8.ข้าวโพดฝัก 1/2 กก. 
9.หัวไช้เท้า 1/2 กก. (จะใส่หรือไม่ก็ได้ บางคนบอกว่าจะไปล้างยา)

วิธีทำ
1.ต้มน้ำให้เดือด
2.นำผักที่เตรียมไว้ใส่ลงไปในหม้อต้มให้เดือด 15 นาที
3.จากนั้นเคี่ยวไปประมาณ 2 ชั่วโมง ไฟกลางๆเมื่อได้ที่แล้วทิ้งให้เย็น กรองเอากากออก
4.นำน้ำซุปที่ได้แบ่งใส่ถุง แช่ช่องแข็งไว้ใช้ทำอาหารต่อไป

น้ำข้าวบริสุทธิ์
ส่วนประกอบ
•กลุ่มที่ 1 ข้าวฟ่าง ข้าวบาร์เลย์ ลูกเดือย เม็ดบัว
•กลุ่มที่ 2 ข้าวกล้อง ข้าวเหนียวกล้อง ข้าวแดง ข้าวโพด
•กลุ่มที่ 3 ข้าวโอ๊ต รำข้าว
ทุกอย่าง อย่างละ 1 กำมือ น้ำสะอาด 2.5 – 3 ลิตร

วิธีทำ
1.ล้างข้าวต่างๆให้สะอาด
2.ต้มน้ำให้เดือด ใส่ข้าวกลุ่มที่1 (เมล็ดแข็งสุด) ลงไป ต้มนาน 10 นาที
3.ใส่ข้าวกลุ่มที่ 2 ต้ม 10 นาที
4.ใส่ข้าวกลุ่มที่ 3 เคี่ยวไปอีก 10 นาที
5.กรองเอาแต่น้ำให้ผู้ป่วยดื่ม 


แกงส้มผักรวม
ส่วนประกอบ
1.น้ำซุปโพแทสเซียม
2.เครื่องแกงส้ม(ต้องไม่ใส่กะปิ)
3.น้ำมะขาม
4.ซีอิ๊วขาว
5.น้ำตาลโตนด
6.ผักสดแล้วแต่ชอบ เช่น ยอดมะพร้าว ผักบุ้งไทย กะหล่ำปลี เป็นต้น

วิธีทำ
1.นำน้ำซุปโพแทสเซียมใส่หม้อ ละลายเครื่องแกงก่อนที่จะตั้งเตา (ถ้าละลายในน้ำเดือดจะจับตัวเป็นก้อน)
2.ตั้งไฟให้เดือด ปรุงรสตามชอบ(ควรลดเค็มและหวาน)
3.ใส่ผักลงไป ชิมรสอีกครั้ง เพราะน้ำในผักจะทำให้รสชาติเปลี่ยนไปเล็กน้อย


แกงเลียง
ส่วนประกอบ 
1.น้ำซุปโพแทสเซียม
2.หอมแดง กระชาย พริกไทยป่น สาหร่าย (แผ่นกลมๆที่ใช้ใส่แกงจืด)
3.ผักสดแล้วแต่ชอบ เช่นบวบ ตำลึง ใบแมงลัก ฟักทอง ข้าวโพดอ่อน น้ำเต้า ผักแม้ว เป็นต้น
4.ซีอิ๊วขาว

วิธีทำ
1.ตำหอมแดง กระชาย พริกไทยป่น สาหร่ายเข้าด้วยกัน หรือจะปั่นก็ได้ (ปั่นต้องใส่น้ำซุปลงไปด้วย)
2.นำน้ำซุปโพแทสเซียมใส่หม้อละลายเครื่องแกงที่ตำไว้ ปิดฝา ตั้งไฟให้เดือด
3.เมื่อได้ที่แล้ว ใส่ผักสุกยากลงไปก่อน เช่นฟักทอง ข้าวโพดอ่อน ผักที่เป็นใบใส่ทีหลัง
4.ปรุงรสด้วยซีอิ๊วขาว ชิมรส 
*หมายเหตุ สาหร่ายใช้แทนกะปิ 


แกงป่า
ส่วนประกอบ
1.น้ำซุปโพแทสเซียม
2.เครื่องแกงป่า(ต้องไม่ใส่กะปิ)
3.แครอทขนาดกลาง
4.ข้าวโพดอ่อน
5.มะเขือเปราะ
6.ชะอม
7.ฟักทอง
8.ถั่วฝักยาว
9.ใบกระเพรา
10.กระชายหั่นฝอย
11.ซีอิ๊วขาวเล็กน้อย

วิธีทำ 
1.นำน้ำซุปโพแทสเซียมใส่กะทะผัดเครื่องแกงให้เข้ากัน
2.ตั้งไฟให้เดือดปรุงรสตามชอบ
3.ใส่ผักตามต้องการ แต่จะใส่ผักสุกยากลงไปก่อน เช่นฟักทอง ข้าวโพดอ่อน ผักที่เป็นใบใส่ทีหลัง 
4.ชิมรส ตักใส่ชาม


ผัดผักรวมมิตร
ส่วนประกอบ
1.น้ำซุปโพแทสเซียม
2.แครอทขนาดกลาง ถั่วลันเตา เห็ดหอม ผักกาดขาว ข้าวโพดเมล็ด 
กระเทียมหั่นแว่น พอประมาณ
3.ซีอิ๊วขาวเล็กน้อย
4.เกลือโพแทสเซียมเล็กน้อย

วิธีทำ
1.คั่วกระเทียมให้หอม แล้วจึงใส่น้ำซุปโพแทสเซียมลงไปพอประมาณ
2.ใส่ผักเตรียมไว้(ใส่ผักสุกยากลงไปก่อน)
3.ปรุงรสด้วยซีอิ๊วขาวและเกลือโพแทสเซียมเล็กน้อยเท่านั้น ปิดฝาให้ผักระอุสักครู่
4.ผัดให้เข้ากันอีกครั้ง ตักใส่จาน


ผัดเผ็ดมะเขือยาว
ส่วนประกอบ
1.น้ำซุปโพแทสเซียม
2.เครื่องแกงเผ็ด(ต้องไม่ใส่กะปิ)
3.มะเขือยาว
4.มะกรูดหั่นฝอย
5.ซีอิ๊วขาวเล็กน้อย 
6.น้ำตาลโตนด
7.ลูกชิ้นเห็ดหอม(ถ้ามี)

วิธีทำ
1.นำน้ำซุปโพแทสเซียมใส่กะทะผัดเครื่องแกงให้เข้ากันปรุงรสด้วยซีอิ๊วขาวเล็กน้อย น้ำตาลโตนด
2.ส่มะเขือยาว ผัดให้เข้ากัน ปิดฝาให้มะเขือระอุสักครู่
3.เปิดฝา ผัดให้เข้ากันอีกครั้ง ชิมรส
4.โรยหน้าด้วยใบมะกรูดหั่นฝอย ตักใส่จาน


น้ำผัก (ใช้เครื่องแยกกาก)
ส่วนประกอบ
1.ฝรั่งกรอบ เอาเมล็ดออกให้หมด หรือแอปเปิ้ลเขียว
2.ใบบัวบก คะน้า ใบย่านาง กวางตุ้ง ใบยอ ใบตำลึง หรือผักใบเขียวอื่นๆก็ได้

วิธีทำ
1.หั่นผักและผลไม้เป็นชิ้นเล็กๆ
2.ใส่ผลไม้และผักสลับไปมา(ถ้าต้องการน้ำผักเข้มข้นมากให้ใส่ผักมาก)
* หมายเหตุ ต้องดื่มให้หมดภายใน 10 – 15 นาที (ถ้านานกว่านั้น เอนไซม์ จะหมดคุณค่า)


น้ำเบต้าแคโรทีน
ส่วนประกอบ
1.แอปเปิ้ล (ต้องไม่เคลือบแว็กซ์)
2.แครอท (ต้องปอกเปลือกทุกครั้ง)
3.บีทรูท (ต้องล้างให้สะอาด)

วิธีทำ
1.แช่ผลไม้ด้วยผงถ่าน (แอคติเวทเตท ชาร์โคล์ Activated Charcoal) 15 – 20 นาที
2.หั่นหรือเฉาะให้เป็นชิ้นเล็กๆ แล้วใส่เครื่องคั้นน้ำแยกกาก จะได้น้ำผลไม้ที่มีคุณค่าและเสริมสร้างสุขภาพ


ตารางน้ำผักผลไม้สำหรับผู้ป่วย
(สำหรับผู้ต้องการรักษาแบบเข้มข้น) 

เวลา น้ำผลไม้ 8 ออนซ์ (240 ซีซี) 
07.30 น้ำส้ม 
08.30 น้ำผัก 
09.00 น้ำแอปเปิ้ล + แครอท 
09.30 น้ำแอปเปิ้ล + แครอท 
10.30 น้ำแครอท 
11.30 น้ำผัก 
12.30 น้ำแอปเปิ้ล + แครอท 
13.30 น้ำผัก 
14.30 น้ำแครอท 
15.30 น้ำแครอท 
16.30 น้ำแอปเปิ้ล + แครอท 
17.30 น้ำผัก 
18.30 น้ำแอปเปิ้ล + แครอท 





http://board.palungjit.com/f9/%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B9%87%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B9%88%E0%B8%B0-209303.html

อาหารป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่

ใยอาหารกับมะเร็งบางชนิด 

ปัจจุบันนี้มีการตั้งสมมุติฐานว่า การบริโภคอาหารที่มีใยอาหาร (dietary fiber) สูงนั้น จะช่วยให้มีโอกาสเป็นมะเร็งบางอวัยวะน้อยลง ใยอาหาร คือ องค์ประกอบของอาหารซึ่งได้จาก ผัก ผลไม้ และธัญญพืชต่างๆ ใยอาหารเป็นองค์ประกอบของผนังเซลล์ของพืชทุกชนิด นับว่าเป็นคาร์โบไฮเดรตชนิดหนึ่งที่มีองค์ประกอบเป็นน้ำตาลกลูโคสเช่นเดียวกับแป้ง แต่มีการจับตัวต่างจากแป้ง ดังนั้นเอมไซม์ที่ย่อยแป้งจึงไม่สามารถย่อยใยอาหารได้ ด้วยเหตุนี้ใยอาหารจึงถูกประเมินว่าไม่มีคุณค่าต่อการเจริญเติบโต หรือซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกายแต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม การที่ใยอาหารไม่ถูกย่อยและไม่ดูดซึมกลับมีประโยชน์ในตัวเองซึ่งอธิบายได้ดังนี้

เมื่อผัก ผลไม้ ถูกเคี้ยวกลืนผ่านลำคอลงไปถึงกระเพาะอาหารและเลยไปถึงลำไส้เล็ก สารอาหารคือ แป้ง น้ำตาล วิตามิน เกลือแร่ และโปรตีนที่มีอยู่จะถูกย่อยและถูกดูดซึมเข้าระบบโลหิต องค์ประกอบส่วนที่เหลือคือ ใยอาหารจะกลายไปเป็นองค์ประกอบของกากอาหารรอการถูกขับออกจากร่างกาย

แบคทีเรียบางชนิดที่มีอยู่ในลำไส้ใหญ่อาจมีส่วนก่อให้เกิดอันตรายต่อคนได้ เช่น ในการทดลองในห้องปฏิบัติการพบว่า แบคทีเรียบางชนิดในทางเดินอาหารตอนล่างสามารถปล่อยเอมไซม์ออกมากระตุ้นสารพิษหลายชนิดให้แสดงฤทธิ์ หรือบางกรณี แบคทีเรียบางชนิดอาจจะเปลี่ยนสารเคมีที่มีอยู่ในกากอาหาร เช่น เกลือน้ำดี ให้กลายเป็นสารก่อมะเร็งบางชนิดได้ ดังนั้น จะเห็นได้ว่าการที่กากอาหารตกค้างอยู่ในลำไส้ใหญ่นานๆ มีผลเสียต่อสุขภาพของร่างกาย จึงควรกินใยอาหารให้มากพอเพื่อทำให้เกิดความสะดวกสบายในการขับของเสียออกจากร่างกายโดยเร็วที่สุดในแต่ละวัน

ใยอาหารหลายชนิดซึ่งมนุษย์ย่อยไม่ได้นั้น แบคทีเรียที่อยู่ในทางเดินอาหารตอนล่างสามารถย่อยใช้เป็นอาหารได้ การที่แบคทีเรียย่อยใยอาหารได้นั้น เกิดข้อดีแก่ผู้บริโภคผัก ผลไม้ เพราะเมื่อแบคทีเรียย่อยใยอาหารแล้ว สิ่งที่เป็นผลพลอยได้หรือสิ่งที่แบคทีเรียขับถ่ายออกมาก็คือ กรดไขมันอิสระชนิดที่มีโมเลกุลเล็ก ซึ่งระเหยได้ (Volatile free fatty acid)  กรดไขมันนี้มีความสำคัญกับสุขภาพของผู้บริโภคในด้านที่มีสมมุติฐานเกี่ยวกับการป้องกันมะเร็ง   ดังจะอธิบายต่อไปนี้

จากการทราบว่าโปรตีนจากเนื้อสัตว์ทำให้เกิดความเป็นด่างขึ้นในลำไส้ใหญ่ ซึ่งสนับสนุนการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง จึงมีการตั้งสมมุติฐานว่าการลดความเป็นด่าง โดยการเพิ่มสารที่มีฤทธิ์กรดเข้าไปเป็นแนวทางที่จะลดความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งได้ ดังนั้น กรดไขมันอิสระที่เกิดจากการย่อยใยอาหารโดยแบคทีเรียในลำไส้ใหญ่ของคน จึงเป็นความหวังที่จะทำให้สภาวะที่เหมาะกับการเจริญของเซลล์มะเร็งเปลี่ยนไปจนมีโอกาสการเกิดมะเร็งน้อยลง

ประเด็นที่สำคัญเกี่ยวกับใยอาหาร อีกหนึ่งประเด็น คือ สมมุติฐานที่กล่าวว่าใยอาหารเป็นปัจจัยที่จะทำให้เด็กผู้หญิงเป็นสาวช้าลง โดยอาศัยหลักการในทางสรีรวิทยาที่กล่าวสรุปได้ว่า การที่เด็กหญิงเริ่มมีประจำเดือนนั้น แสดงว่าเริ่มเป็นสาวและฮอร์โมนเพศหญิงเริ่มทำงาน การเจริญเติบโตโดยเฉพาะในเรื่องของความสูงจะมีอัตราลดลงทันที เพราะฮอร์โมนเพศนั้นจะไปกดการทำงานหรือการสร้างฮอร์โมนที่ส่งเสริมความสูงของร่างกาย เนื่องด้วยร่างกายต้องเตรียมพร้อมในกรณีที่จะต้องมีลูก จึงทำให้ร่างกายให้ความสำคัญกับการกระตุ้นระบบที่ช่วยในการเลี้ยงลูก คือ การมีเต้านมมากกว่าการทำให้เด็กหญิงสูงขึ้น

เมื่อพิจารณาช่วงอายุของการมีประจำเดือนของเด็กหญิงชาวตะวันตกและชาวเอเชีย จะพบว่าเมื่อยี่สิบกว่าปีที่ผ่านมาเด็กหญิงชาวตะวันตกมีประจำเดือนเมื่ออายุราว 10-11 ปีเท่านั้น ในขณะที่เด็กหญิงไทยจะเริ่มมีเมื่ออายุ 13-14 ปี แต่ในปัจจุบัน พบว่าเด็กหญิงไทยที่ได้รับการเลี้ยงดูด้วยอาหารที่มีความสมบูรณ์ทั้งโปรตีนและไขมัน จนสัดส่วนของใยอาหารที่ได้จากพืชผักต่ำลงนั้น เริ่มเป็นสาวมีประจำเดือนในช่วงอายุราว 10-12 ปี ซึ่งแสดงว่าฮอร์โมนเพศได้เริ่มทำงานแล้ว

การเปลี่ยนแปลงทางฮอร์โมนเพศของเด็กหญิงเร็วกว่าปรกตินี้มีการตั้งสมมุติฐานว่า เนื่องมาจากการเปลี่ยนพฤติกรรมการกินอาหารจากอาหารที่มีผักมาก เช่น น้ำพริกผักจิ้ม ชะอมชุบไข่ แกงเลียง ฯลฯ ไปเป็นอาหารที่มีเนื้อสัตว์และไขมันสูง

ไขมันคงเป็นปัจจัยสำคัญมากที่ทำให้ระบบฮอร์โมนของร่างกายเปลี่ยนจากเด็กไปเป็นผู้ใหญ่เร็วกว่าปรกติ เนื่องจากอาหารเนื้อสัตว์ที่มีไขมันสูงนั้น จะมีไขมันกลุ่มที่เรียกว่า สเตียรอยด์ นอกจากนี้ไขมันธรรมดา เช่น น้ำมันพืชสามารถถูกร่างกายนำไปสร้างเสตียรอยด์ ซึ่งหลายชนิดเป็นฮอร์โมนเพศได้ ใยอาหารจะมีบทบาทมากในการลดระดับเสตียรอยด์ให้น้อยลง อธิบายโดยอาศัยหลักการเดียวกับที่มีการนำใยอาหารไปใช้ลดโคเลสเตอรอลในคนไข้โรคอ้วน

สมมุติฐานกล่าวว่า ใยอาหารในลำไส้ใหญ่สามารถจับตัวกับน้ำดีซึ่งมีองค์ประกอบเป็น เกลือน้ำดีที่ถูกสร้างมาจากโคเลสเตอรอล ดังนั้นถ้าการดูดซึมน้ำดีที่ผนังลำไส้ใหญ่เพื่อกลับไปใช้อีกลดลง เพราะถูกใยอาหารจับออกไปกับอุจจาระแล้ว การสร้างเกลือน้ำดีจะต้องเพิ่มขึ้นที่ตับ ซึ่งทำให้โอกาสที่ร่างกายเด็กหญิงวัย 10-11 ปี   จะเอาไขมันไปสร้างเสตียรอยด์ที่เป็นฮอร์โมนเพศหญิงน้อยลง ส่งผลให้เด็กที่มีฮอร์โมนเพศหญิงช้าสามารถสูงได้มากกว่าเด็กที่ฮอร์โมนเพศหญิงออกมาเร็ว

ถ้าสมมุติฐานที่เกี่ยวกับว่าใยอาหารมีผลกับความสูงของเด็กหญิงเป็นจริงแล้ว การให้เด็กกินผักผลไม้ให้มากขึ้นกว่าเดิม และพยายามไม่ให้กินอาหารแบบตะวันตกโดยไม่จำเป็น จะส่งเสริมให้เด็กไทยสูงขึ้นกว่าเดิม เป็นการแสดงให้เห็นว่าพฤติกรรมการกินเป็นสิ่งสำคัญที่อาจเป็นตัวกำหนดชะตากรรมของคนก็ว่าได้ เพราะจากหลักฐานทางระบาดวิทยาที่ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างอาหารกับมะเร็งค่อนข้างมั่นใจว่า การบริโภคอาหารของชาวเอเชียแบบโบราณ ลดอัตราความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งได้หลายชนิดไม่ว่าจะเป็นการกินแบบอินเดีย จีน ญี่ปุ่น หรือไทย

นอกจากนี้ความรู้ทางระบาดวิทยาได้อธิบายว่า ปริมาณใยอาหารที่คนต่างเชื้อชาติกิน เป็นตัวกำหนดอัตราการเป็นมะเร็งในลำไส้ใหญ่ จากการศึกษาในกลุ่มชนชาวตะวันตกพบว่า ได้รับใยอาหารในสัดส่วนต่ำกว่าชาวเอเชียหรือชาวอัฟริกา ทั้งนี้ เพราะอาหารคาร์โบไฮเดรตของชาวตะวันตกเป็นขนมปังจากข้าวสาลี ซึ่งในกระบวนการผลิตแป้งสาลีนั้นทำโดยการป่นเมล็ดข้าวสาลี ทำให้ใยอาหารถูกทำลายไป ต่างกับคนเอเชียที่กินข้าวเป็นเมล็ด ซึ่งใยอาหารยังอยู่ในสภาพเดิม และถ้าสังเกตุให้ดีจะพบว่าชาวตะวันตกรับประทานอาหารผักและผลไม้ในสัดส่วนที่ต่ำ ในขณะที่โปรตีนและไขมันในอาหารสูงกว่าชาวเอเชีย ทำให้โอกาสที่ความเข้มข้นของโคเลสเตอรอลในเลือดสูงจึงมีมาก และส่งผลให้มีการขับน้ำดีออกสู่ลำไส้มากขึ้นเพราะอาหารมีไขมันสูง 



http://www.yourhealthyguide.com/article/ac-food-1.htm